ดาวพฤหัสบดีสัญลักษณ์ 



ดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 5 และเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ นอกจากดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์แก๊สดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะได้แก่ ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ชื่อละตินของดาวพฤหัสบดี (Jupiter) มาจากเทพเจ้าโรมันสัญลักษณ์แทนดาวพฤหัสบดี คือ ♃ เป็นสายฟ้าของเทพเจ้าซุส
ดาวพฤหัสบดีมีมวลสูงกว่ามวลของดาวเคราะห์อื่นรวมกันราว 2.5 เท่า ทำให้ศูนย์ระบบมวลระหว่างดาวพฤหัสบดีกับดวงอาทิตย์ อยู่เหนือผิวดวงอาทิตย์ (1.068 เท่าของรัศมีดวงอาทิตย์ เมื่อวัดจากศูนย์กลางดวงอาทิตย์) ดาวพฤหัสบดีหนักว่าโลก 318 เท่า เส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่าโลก 11 เท่า และมีปริมาตรคิดเป็น 1,300 เท่าของโลก เชื่อกันว่าหากดาวพฤหัสบดีมีมวลมากกว่านี้สัก 60-70 เท่า อาจเพียงพอที่จะให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์จนกลายเป็นดาวฤกษ์ได้
ดาวพฤหัสบดีหมุนรอบตัวเองด้วยอัตราเร็วสูงที่สุด เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ดวงอื่นในระบบสุริยะ ทำให้มีรูปร่างแป้นเมื่อดูผ่านกล้องโทรทรรศน์ นอกจากชั้นเมฆที่ห่อหุ้มดาวพฤหัสบดี ร่องรอยที่เด่นชัดที่สุดบนดาวพฤหัสบดี คือ จุดแดงใหญ่ ซึ่งเป็นพายุหมุนที่มีขนาดใหญ่กว่าโลก
โดยทั่วไป ดาวพฤหัสบดีเป็นวัตถุที่สว่างที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ในท้องฟ้า (รองจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวศุกร์ อย่างไรก็ตาม บางครั้งดาวอังคารก็ปรากฏสว่างกว่าดาวพฤหัสบดี) จึงเป็นที่รู้จักมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ การค้นพบดาวบริวารขนาดใหญ่ 4 ดวง ได้แก่ ไอโอ, ยูโรปา, แกนีมีด และคัลลิสโต โดยกาลิเลโอ กาลิเลอี เมื่อ ค.ศ. 1610 เป็นการค้นพบวัตถุที่ไม่ได้โคจรรอบโลกเป็นครั้งแรก นับเป็นจุดที่สนับสนุนทฤษฎีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางที่เสนอโดยโคเปอร์นิคัส การออกมาสนับสนุนทฤษฎีนี้ทำให้กาลิเลโอต้องเผชิญกับการไต่สวน




ลักษณะเฉพาะของวงโคจร
ระยะจุด ไกลดวงอาทิตย์ที่สุด: | 816,081,455 กม. (5.45516759 หน่วยดาราศาสตร์) |
---|---|
ระยะจุด ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด: | 740,742,598 กม. (4.95155843 หน่วยดาราศาสตร์) |
กึ่งแกนเอก: | 778,412,027 กม. (5.20336301 หน่วยดาราศาสตร์) |
เส้นรอบวง ของวงโคจร: | 4.888 เทระเมตร 32.675 หน่วยดาราศาสตร์ |
ความเยื้องศูนย์กลาง: | 0.04839266 |
คาบดาราคติ: | 4,335.3545 วัน (11.87 ปีจูเลียน) |
คาบซินอดิก: | 398.86 วัน |
อัตราเร็วเฉลี่ย ในวงโคจร: | 13.050 กม./วินาที |
อัตราเร็วสูงสุด ในวงโคจร: | 13.705 กม./วินาที |
อัตราเร็วต่ำสุด ในวงโคจร: | 12.440 กม./วินาที |
ความเอียง: | 1.30530° (6.09° กับศูนย์สูตรดวงอาทิตย์) |
ลองจิจูด ของจุดโหนดขึ้น: | 100.55615° |
ระยะมุมจุด ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด: | 274.19770° |
จำนวนดาวบริวาร: | 63 |
เส้นผ่านศูนย์กลาง ตามแนวศูนย์สูตร: | 142,984 กม. (11.209×โลก) | |||||
---|---|---|---|---|---|---|
เส้นผ่านศูนย์กลาง ตามแนวขั้ว: | 133,709 กม. (10.517×โลก) | |||||
ความแป้น: | 0.06487 | |||||
พื้นที่ผิว: | 6.14×1010 กม.² (120.5×โลก) | |||||
ปริมาตร: | 1.338×1015 กม.³ (1235.6×โลก) | |||||
มวล: | 1.899×1027กก. (317.8×โลก) | |||||
ความหนาแน่นเฉลี่ย: | 1.326 กรัม/ซม.³ | |||||
ความโน้มถ่วง ที่ศูนย์สูตร: | 23.12 เมตร/วินาที² (2.358 จี) | |||||
ความเร็วหลุดพ้น: | 59.54 กม./วินาที | |||||
คาบการหมุน รอบตัวเอง: | 0.413538021 วัน (9 ชม. 55 นาที 29.685 วินาที) | |||||
ความเร็วการหมุน รอบตัวเอง: | 12.6 กม./วินาที (45,300 กม./ชม.) | |||||
ความเอียงของแกน: | 3.13° | |||||
ไรต์แอสเซนชัน ของขั้วเหนือ: | 268.05° (17 ชม. 52 นาที 12 วินาที) | |||||
เดคลิเนชัน ของขั้วเหนือ: | 64.49° | |||||
อัตราส่วนสะท้อน: | 0.52 | |||||
อุณหภูมิพื้นผิว: เคลวิน |
|
ความดันบรรยากาศ ที่พื้นผิว: | 70 กิโลปาสกาล |
---|---|
องค์ประกอบ: | ~86% ไฮโดรเจน ~14% ฮีเลียม 0.1% มีเทน 0.1% ไอน้ำ 0.02% แอมโมเนีย 0.0002% อีเทน 0.0001% ไฮโดรเจนฟอสไฟด์ <0.0001% ไฮโดรเจนซัลไฟด์ |
วงแหวน
ดาวพฤหัสบดีมีวงแหวนเช่นเดียวกับดาวเสาร์ แต่มีความเลือนลางและขนาดเล็กกว่า สามารถเห็นได้ในรังสีใต้แดงทั้งจากกล้องโทรทรรศน์ที่พื้นโลกและจากยานกาลิเลโอ
วงแหวนของดาวพฤหัสค่อนข้างมืด เป็นวงแหวนชั้นบางๆ ไม่สามารถมองเห็นจากโลกซึ่งอาจประกอบด้วยเศษหินขนาดเล็ก และไม่พบน้ำแข็ง เหมือนที่พบในวงแหวนของดาวเสาร์ วัตถุที่อยู่ในวงแหวนของดาวพฤหัสอาจไม่อยู่ในวงแหวนนาน เนื่องจากแรงเหวี่ยงที่เกิดจากบรรยากาศและสนามแม่เหล็ก มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าวงแหวนได้วัตถุเพิ่มเติมจากฝุ่นที่เกิดจากอุกาบาตตกชนดาวบริวารวงใน ซึ่งเนื่องจากพลังงานมหาศาลจากแรงดึงดูดขนาดใหญ่ของดาวพฤหัส


โครงสร้างของดาวพฤหัส


ดาวพฤหัสเป็นดาวเคราะห์ก๊าซขนาดยักษ์ที่ไม่มีพื้นผิวให้เหยียบ แกนกลางเป็นชั้นแข็งของไฮโดรเจน และฮีเลียมที่แข็งเหมือนโลหะเนื่องจากอยู่ภายใต้ความกดดันที่สูงมาก ขนาดราวสองเท่าของโลก ถัดขึ้นมา ชั้นกลางเป็นชั้นของของไฮโดรเจนเหลว หนาราว 45,000 กิโลเมตร ภายใต้ความกดดันสูงราว 3 ล้านเท่า ของ ความกดอากาศบนโลก ถัดขึ้นมาอีกเป็นชั้นของโมเลกุลของไฮโดรเจนที่แตกตัวเป็นประจุไฟฟ้า ทำให้เกิดสนาม แม่เหล็กความเข้มสูงรอบดาวพฤหัสรูปคล้ายโดนัท ซึ่งตรวจวัดได้จากยานวอยเอเจอร์ ชั้นบนสุดเป็นชั้นของ บรรยากาศที่หนาแน่น
บรรยากาศของดาวพฤหัส ประกอบด้วย ไฮโดรเจน 81% ฮีเลียม 18% ที่เหลือเป็น มีเธน แอมโมเนีย ฟอสฟอรัส และ ไอน้ำ เนื่องจากดาวพฤหัสมีการหมุนรอบตัวเองที่เร็วมากคือประมาณ 10 ชั่วโมงทั้งที่มีขนาดใหญ่ จึงทำให้ ลักษณะของดาวพฤหัสป่องบริเวณเส้นศูนย์สูตร และมีความแปรปรวนของชั้นบรรยากาศสูงมาก ทำให้ชั้นบรรยากาศ แบ่งออกเป็นแถบๆตามแนวขวางคล้ายเข็มขัด
จุดแดงยักษ์
![]() |


คนโบราณสามารถสังเกตเห็นจุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสมาเป็นเวลานานหลายร้อยปีแล้ว ปัจจุบันเราว่าทราบนั่นคือ พายุหมุนขนาดยักษ์ใหญ่กว่าโลกของเราถึง 3 เท่า หมุนทวนเข็มนาฬิกาด้วยคาบเวลา หนึ่งรอบกินเวลา 6 วัน ด้วยความเร็ว 400 กิโลเมตรต่อชั่วโมงนับเป็นพายุที่เร็วที่สุดในระบบสุริยะด้วย
ดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี
ดาวพฤหัสบดีมีดวงจันทร์เท่าที่ค้นพบและยืนยันแล้ว 62 ดวง ขณะนี้มันจึงเป็นดาวเคราะห์ที่มีบริวารมากที่สุดในระบบสุริยะ[1] ดวงจันทร์ที่มีมวลมากที่สุด 4 ดวงหรือดวงจันทร์ของกาลิเลโอ (Galilean moons) ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1610 ถือเป็นวัตถุในระบบสุริยะกลุ่มแรก ๆ ที่ถูกค้นพบว่าโคจรรอบดาวดวงอื่นที่ไม่ใช่โลกหรือดวงอาทิตย์ นับตั้งแต่สิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีดวงจันทร์ขนาดเล็กอีกเป็นจำนวนมากที่ถูกค้นพบและได้รับการตั้งชื่อตามชื่อคนรักหรือธิดาของเทพเจ้าจูปิเตอร์ของโรมัน (หรือเทพเจ้าซุสของกรีก)
ดวงจันทร์ 8 ดวงของดาวพฤหัสบดีเป็นบริวารที่มีวงโคจรปกติ กล่าวคือ มีวงโคจรเกือบเป็นวงกลมไปในทางเดียวกับดาวดวงอื่น ๆ และเอียงทำมุมกับเส้นศูนย์สูตรของดาวพฤหัสบดีไม่มากนัก ดวงจันทร์ของกาลิเลโอทั้ง 4 ดวงมีลักษณะเป็นทรงกลม ดังนั้นดวงจันทร์เหล่านี้อาจได้รับการจัดเป็นดาวเคราะห์แคระหากพวกมันโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยตรง ส่วนดวงจันทร์อีก 4 ดวงมีขนาดเล็กกว่าและอยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดีมากกว่าดวงจันทร์ของกาลิเลโอ เป็นแหล่งกำเนิดฝุ่นซึ่งคอยเสริมความหนาแน่นให้กับวงแหวนของดาวพฤหัสบดี
ดวงจันทร์อื่น ๆ อีก 54 หรือ 55 ดวงเป็นบริวารขนาดเล็กซึ่งอยู่ห่างไกลจากดาวพฤหัสบดีมากกว่า จัดเป็นดาวบริวารผิดปกติ คือ มีความเอียงและความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรสูง (วงโคจรไม่มีจุดศูนย์กลางจุดเดียวกันสม่ำเสมอ) บางดวงโคจรไปในทางเดียวกันและบางดวงโคจรสวนทางกับบริวารดวงอื่น ๆ ดวงจันทร์เหล่านี้อาจเคยเป็นดาวเคราะห์น้อยที่โคจรรอบดวงอาทิตย์มาก่อน แต่ถูกอำนาจแรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดีจับไว้ในภายหลัง มีดวงจันทร์ที่เพิ่งถูกค้นพบ 13 ดวงในกลุ่มนี้ยังไม่ได้รับการตั้งชื่อ บวกกับดวงที่ 14 ที่ยังไม่พบวงโคจรแน่ชัด ซึ่งหากค้นพบเมื่อใด จำนวนดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีที่แน่นอนก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 63 ดวง





ลักษณะ
ลักษณะทางกายภาพและลักษณะวงโคจรของดวงจันทร์ต่าง ๆ มีความแตกต่างกันอย่างมาก ดวงจันทร์ของกาลิเลโอทั้ง 4 ดวงมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่า 3,000 กิโลเมตร ดวงที่ใหญ่ที่สุดคือ แกนีมีดเป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ (เมื่อไม่นับรวมดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวง) ในขณะที่ดวงจันทร์ดวงอื่น ๆ ทั้งหมดมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวน้อยกว่า 250 กิโลเมตรและส่วนใหญ่ยาวไม่เกิน 5 กิโลเมตร แม้แต่ยูโรปาซึ่งเป็นดวงจันทร์ที่เล็กที่สุดในกลุ่มกาลิเลโอ ยังมีมวลมากกว่ามวลของดวงจันทร์นอกกลุ่มทั้งหมดรวมกันถึง 5,000 เท่า วงโคจรก็มีทั้งเกือบเป็นวงกลมสมบูรณ์ เอียง และเป็นวงรี หลายดวงยังโคจรไปในทิศทางตรงกันข้ามกับการหมุนของดาวพฤหัสบดีอีกด้วย เวลาที่ใช้โคจรรอบดาวพฤหัสบดีก็ต่างกันตั้งแต่ 7 ชั่วโมงโลก (ซึ่งน้อยกว่าเวลาที่ดาวพฤหัสบดีใช้หมุนรอบตัวเอง) จนถึงประมาณ 3 ปีโลก
ข้อมูลของดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัส
ไอโอ (Io)

ไอโอ (Io) ดวงจันทร์ขนาดใหญ่อันดับ 3 มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3,642 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดาวพฤหัส 421,600 กิโลเมตร โคจรอยู่รอบในสุดของกลุ่มดวงจันทร์กาลิเลียน 1 รอบกินเวลา 1 วัน 18 ชั่วโมง 27 นาที มีค่าความสว่างเมื่อมองจากโลกประมาณ mag 5.0
เนื่องจากไอโอ อยู่ใกล้ดาวพฤหัสมากทำให้ถูกสนามแรงโน้มถ่วง และสนามแม่เหล็กกระทำรุนแรงมาก จึงทำให้ไอโอแอคทีฟตลอดเวลา ทั่วทั้งผิวของไอโอเต็มไปปล่อยภูเขาไฟ ที่ค่อยระบายความร้อนภายในตัวดวงจันทร์ ระเบิดพ่นลาวาที่เป็นกำมะถันเหลวปกคลุมทั่วผิวไอโอ เมื่อครั้งที่ยานวอยเอเจอร์ผ่านไอโอได้จับภาพภูเขาไฟกำลังพ่นลาวาสูงถึง 240 กิโลเมตร
ยูโรปา (Europa)

ยูโรปา (Europa) ดวงจันทร์น้องเล็กในกลุ่มมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3,138 กิโลเมตร มีขนาดเล็กกว่าดวงจันทร์ของโลก (เส้นผ่านศูนย์กลาง 3,450 กิโลเมตร) อยู่ห่างจากดาวพฤหัส 670,900 กิโลเมตร โคจรห่างจากดาวพฤหัสเป็นอันดับสองในกลุ่มใช้เวลา 1 รอบดาวพฤหัส 3 วัน 13 ชั่วโมง 13 นาที มีค่าความสว่างเมื่อมองจากโลกประมาณ mag 5.3
ผิวของยูโรปาเป็นน้ำแข็งราบเรียบ และมีริ้วขีดไปมาคล้ายลายบนเปลือกไข่ นักวิทยาศาสตร์สันนิฐานว่าใต้ผิวน้ำแข็งนี้จะเป็นมหาสมุทรที่ยังเป็นของเหลวอยู่
แกนิมีด (Ganymede)

แกนิมีด (Ganymede) ดวงจันทร์ขนาดใหญ่ที่สุดของดาวพฤหัส และใหญ่ที่สุดในบรรดาดาวบริวารทั้งหมดในระบบสุริยะด้วยและ ยังมีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธด้วย มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5,262 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดาวพฤหัส 1,070,000 กิโลเมตร โคจรรอบดาวพฤหัส 1 รอบกินเวลา 7 วัน 3 ชั่วโมง 43 นาที มีค่าความสว่างเมื่อมองจากโลกประมาณ mag 4.6
ผิวของแกนิมีด ค่อนข้างประหลาดเพราะมีส่วนที่เข้มขนาดใหญ่แยกต่างหากจากส่วนที่มีความสว่าง อย่างเห็นได้ชัด นักวิทยาศาสตร์สันนิฐานว่าน่าจะเกิดจากการเคลื่อนตัวของ Plate Techtonic แบบเดียวกับที่เกิดขึ้นบนโลก และภายในของแกนิมีดคงจะร้อนอยู่
คาลลิสโต (Callisto)

คาลลิสโต (Callisto) โคจรอยู่วงนอกสุดของกลุ่มดวงจันทร์กาลิเลียน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4,806 กิโลเมตร อยู่ห่างจากดาวพฤหัส 1,880,000 กิโลเมตร โคจรรอบดาวพฤหัส 1 รอบกินเวลา 16 วัน 16 ชั่วโมง 32 นาที มีค่าความสว่างเมื่อมองจากโลกประมาณ mag 5.6
เนื่องจากคาลลิสโตอยู่ไกลสุดจากดาวพฤหัส จึงไม่ถูกรบกวนจากสนามแม่เหล็ก ทำให้ผิวของคาลลิสโตประกอบด้วยน้ำแข็งและเปลือกแข็งที่เป็นหลุมอุกกาบาต ลึกราวๆ 200-300 กิโลเมตร ใต้ผิวลึกลงไปสันนิฐานว่าจะเป็นน้ำหรือน้ำแข็งหุ้มแกนกลางที่เป็นซิลิเคท
ตารางรายชื่อดวงจันทร์
รายชื่อด้านล่างเป็นรายชื่อของดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีเรียงตามคาบดาราคติ
อันดับ [# 1] | ลำดับ ค้นพบ [# 2] | ชื่อ | ภาษาอังกฤษ | ภาพ | เส้นผ่านศูนย์กลาง (ก.ม.) | มวล (1016ก.ก.) | กึ่งแกนเอก (ก.ม.)[2] | คาบดาราคติ (วัน) [2][# 3] | ความเอียงของวงโคจร (°) [2] | ความเยื้องศูนย์กลาง [3] | ปีที่ค้นพบ [4] | ผู้ค้นพบ [4] | กลุ่ม [# 4] |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | XVI | มีทิส | Metis | 60×40×34 | ~3.6 | 127 690 | +7h 4m 29s | 0.06°[5] | 0.000 02 | 1979 | ซินนอตต์ (วอยเอเจอร์ 1) | รอบใน | |
2 | XV | แอดรัสเทีย | Adrastea | 20×16×14 | ~0.2 | 128 690 | +7h 9m 30s | 0.03°[5] | 0.0015 | 1979 | จิวอิตต์ (วอยเอเจอร์ 2) | รอบใน | |
3 | V | แอมัลเทีย | Amalthea | 250×146×128 | 208 | 181 366 | +11h 57m 23s | 0.374°[5] | 0.0032 | 1892 | บาร์นาร์ด | รอบใน | |
4 | XIV | ทีบี | Thebe | 116×98×84 | ~43 | 221 889 | +16h 11m 17s | 1.076°[5] | 0.0175 | 1979 | ซินนอตต์ (วอยเอเจอร์ 1) | รอบใน | |
5 | I | ไอโอ | Io | 3660.0×3637.4 ×3630.6 | 8 900 000 | 421 700 | +1.769 137 786 | 0.050°[5] | 0.0041 | 1610 | กาลิเลโอ | กาลิเลโอ | |
6 | II | ยูโรปา | Europa | 3121.6 | 4 800 000 | 671 034 | +3.551 181 041 | 0.471°[5] | 0.0094 | 1610 | กาลิเลโอ | กาลิเลโอ | |
7 | III | แกนีมีด | Ganymede | 5262.4 | 15 000 000 | 1 070 412 | +7.154 552 96 | 0.204°[5] | 0.0011 | 1610 | กาลิเลโอ | กาลิเลโอ | |
8 | IV | คาลลิสโต | Callisto | 4820.6 | 11 000 000 | 1 882 709 | +16.689 018 4 | 0.205°[5] | 0.0074 | 1610 | กาลิเลโอ | กาลิเลโอ | |
9 | XVIII | เทมิสโต | Themisto | 8 | 0.069 | 7 393 216 | +129.87 | 45.762° | 0.2115 | 1975/2000 | โควาลและโรเมอร์/ เชปเพิร์ดและคณะ | เทมิสโต | |
10 | XIII | ลีดา | Leda | 16 | 0.6 | 11 187 781 | +241.75 | 27.562° | 0.1673 | 1974 | โควาล | ไฮเมเลีย | |
11 | VI | ไฮเมเลีย | Himalia | 170 | 670 | 11 451 971 | +250.37 | 30.486° | 0.1513 | 1904 | เพอร์รีน | ไฮเมเลีย | |
12 | X | ไลซิเทีย | Lysithea | 36 | 6.3 | 11 740 560 | +259.89 | 27.006° | 0.1322 | 1938 | นิโคลสัน | ไฮเมเลีย | |
13 | VII | เอลารา | Elara | 86 | 87 | 11 778 034 | +261.14 | 29.691° | 0.1948 | 1905 | เพอร์รีน | ไฮเมเลีย | |
14 | — | S/2000 J 11 | 4 | 0.009 0 | 12 570 424 | +287.93 | 27.584° | 0.2058 | 2001 | เชปเพิร์ดและคณะ | ไฮเมเลีย | ||
15 | XLVI | คาร์โป | Carpo | 3 | 0.004 5 | 17 144 873 | +458.62 | 56.001° | 0.2735 | 2003 | เชปเพิร์ดและคณะ | คาร์โป | |
16 | — | S/2003 J 12 | 1 | 0.000 15 | 17 739 539 | −482.69 | 142.680° | 0.4449 | 2003 | เชปเพิร์ดและคณะ | ? | ||
17 | XXXIV | ยูพอเรีย | Euporie | 2 | 0.001 5 | 19 088 434 | −538.78 | 144.694° | 0.0960 | 2002 | เชปเพิร์ดและคณะ | อะแนงคี | |
18 | — | S/2003 J 3 | 2 | 0.001 5 | 19 621 780 | −561.52 | 146.363° | 0.2507 | 2003 | เชปเพิร์ดและคณะ | อะแนงคี | ||
19 | — | S/2003 J 18 | 2 | 0.001 5 | 19 812 577 | −569.73 | 147.401° | 0.1569 | 2003 | แกล็ดแมนและคณะ | อะแนงคี | ||
20 | XLII | เทลซิโนอี | Thelxinoe | 2 | 0.001 5 | 20 453 753 | −597.61 | 151.292° | 0.2684 | 2003 | เชปเพิร์ดและคณะ | อะแนงคี | |
21 | XXXIII | ยูแอนที | Euanthe | 3 | 0.004 5 | 20 464 854 | −598.09 | 143.409° | 0.2000 | 2002 | เชปเพิร์ดและคณะ | อะแนงคี | |
22 | XLV | เฮลิกี | Helike | 4 | 0.009 0 | 20 540 266 | −601.40 | 154.586° | 0.1374 | 2003 | เชปเพิร์ดและคณะ | อะแนงคี | |
23 | XXXV | ออร์ทอเซีย | Orthosie | 2 | 0.001 5 | 20 567 971 | −602.62 | 142.366° | 0.2433 | 2002 | เชปเพิร์ดและคณะ | อะแนงคี | |
24 | XXIV | ไอโอแคสตี | Iocaste | 5 | 0.019 | 20 722 566 | −609.43 | 147.248° | 0.2874 | 2001 | เชปเพิร์ดและคณะ | อะแนงคี | |
25 | — | S/2003 J 16 | 2 | 0.001 5 | 20 743 779 | −610.36 | 150.769° | 0.3184 | 2003 | แกล็ดแมนและคณะ | อะแนงคี | ||
26 | XXVII | แพรกซิดิกี | Praxidike | 7 | 0.043 | 20 823 948 | −613.90 | 144.205° | 0.1840 | 2001 | เชปเพิร์ดและคณะ | อะแนงคี | |
27 | XXII | ฮาร์แพลิกี | Harpalyke | 4 | 0.012 | 21 063 814 | −624.54 | 147.223° | 0.2440 | 2001 | เชปเพิร์ดและคณะ | อะแนงคี | |
28 | XL | นีมี | Mneme | 2 | 0.001 5 | 21 129 786 | −627.48 | 149.732° | 0.3169 | 2003 | แกล็ดแมนและคณะ | อะแนงคี | |
29 | XXX | เฮอร์มิปพี | Hermippe | 4 | 0.009 0 | 21 182 086 | −629.81 | 151.242° | 0.2290 | 2002 | เชปเพิร์ดและคณะ | อะแนงคี? | |
30 | XXIX | ไทโอนี | Thyone | 4 | 0.009 0 | 21 405 570 | −639.80 | 147.276° | 0.2525 | 2002 | เชปเพิร์ดและคณะ | อะแนงคี | |
31 | XII | อะแนงคี | Ananke | 28 | 3.0 | 21 454 952 | −642.02 | 151.564° | 0.3445 | 1951 | นิโคลสัน | อะแนงคี | |
32 | — | S/2003 J 17 | 2 | 0.001 5 | 22 134 306 | −672.75 | 162.490° | 0.2379 | 2003 | แกล็ดแมนและคณะ | คาร์มี | ||
33 | XXXI | ไอต์นี | Aitne | 3 | 0.004 5 | 22 285 161 | −679.64 | 165.562° | 0.3927 | 2002 | เชปเพิร์ดและคณะ | คาร์มี | |
34 | XXXVII | เคลี | Kale | 2 | 0.001 5 | 22 409 207 | −685.32 | 165.378° | 0.2011 | 2002 | เชปเพิร์ดและคณะ | คาร์มี | |
35 | XX | เทย์จิที | Taygete | 5 | 0.016 | 22 438 648 | −686.67 | 164.890° | 0.3678 | 2001 | เชปเพิร์ดและคณะ | คาร์มี | |
36 | — | S/2003 J 19 | 2 | 0.001 5 | 22 709 061 | −699.12 | 164.727° | 0.1961 | 2003 | แกล็ดแมนและคณะ | คาร์มี | ||
37 | XXI | แคลดีนี | Chaldene | 4 | 0.007 5 | 22 713 444 | −699.33 | 167.070° | 0.2916 | 2001 | เชปเพิร์ดและคณะ | คาร์มี | |
38 | — | S/2003 J 15 | 2 | 0.001 5 | 22 720 999 | −699.68 | 141.812° | 0.0932 | 2003 | เชปเพิร์ดและคณะ | อะแนงคี? | ||
39 | — | S/2003 J 10 | 2 | 0.001 5 | 22 730 813 | −700.13 | 163.813° | 0.3438 | 2003 | เชปเพิร์ดและคณะ | คาร์มี? | ||
40 | — | S/2003 J 23 | 2 | 0.001 5 | 22 739 654 | −700.54 | 148.849° | 0.3930 | 2004 | เชปเพิร์ดและคณะ | พาซิเฟอี | ||
41 | XXV | แอรินอมี | Erinome | 3 | 0.004 5 | 22 986 266 | −711.96 | 163.737° | 0.2552 | 2001 | เชปเพิร์ดและคณะ | คาร์มี | |
42 | XLI | เออีดี | Aoede | 4 | 0.009 0 | 23 044 175 | −714.66 | 160.482° | 0.6011 | 2003 | เชปเพิร์ดและคณะ | พาซิเฟอี | |
43 | XLIV | คาลลิคอรี | Kallichore | 2 | 0.001 5 | 23 111 823 | −717.81 | 164.605° | 0.2041 | 2003 | เชปเพิร์ดและคณะ | คาร์มี? | |
44 | XXIII | แคลิกี | Kalyke | 5 | 0.019 | 23 180 773 | −721.02 | 165.505° | 0.2139 | 2001 | เชปเพิร์ดและคณะ | คาร์มี | |
45 | XI | คาร์มี | Carme | 46 | 13 | 23 197 992 | −721.82 | 165.047° | 0.2342 | 1938 | นิโคลสัน | คาร์มี | |
46 | XVII | คาลลีโรอี | Callirrhoe | 9 | 0.087 | 23 214 986 | −722.62 | 139.849° | 0.2582 | 2000 | แกล็ดแมนและคณะ | พาซิเฟอี | |
47 | XXXII | ยูริโดมี | Eurydome | 3 | 0.004 5 | 23 230 858 | −723.36 | 149.324° | 0.3769 | 2002 | เชปเพิร์ดและคณะ | พาซิเฟอี? | |
48 | XXXVIII | พาซิเทีย | Pasithee | 2 | 0.001 5 | 23 307 318 | −726.93 | 165.759° | 0.3288 | 2002 | เชปเพิร์ดและคณะ | คาร์มี | |
49 | XLVIII | ซิลีนี | Cyllene | 2 | 0.001 5 | 23 396 269 | −731.10 | 140.148° | 0.4115 | 2003 | เชปเพิร์ดและคณะ | พาซิเฟอี | |
50 | XLVII | ยูเคลาดี | Eukelade | 4 | 0.009 0 | 23 483 694 | −735.20 | 163.996° | 0.2828 | 2003 | เชปเพิร์ดและคณะ | คาร์มี | |
51 | — | S/2003 J 4 | 2 | 0.001 5 | 23 570 790 | −739.29 | 147.175° | 0.3003 | 2003 | เชปเพิร์ดและคณะ | พาซิเฟอี | ||
52 | VIII | พาซิเฟอี | Pasiphaë | 60 | 30 | 23 609 042 | −741.09 | 141.803° | 0.3743 | 1908 | แกล็ดแมนและคณะ | พาซิเฟอี | |
53 | XXXIX | ฮิเจมอนี | Hegemone | 3 | 0.004 5 | 23 702 511 | −745.50 | 152.506° | 0.4077 | 2003 | เชปเพิร์ดและคณะ | พาซิเฟอี | |
54 | XLIII | อาร์คี | Arche | 3 | 0.004 5 | 23 717 051 | −746.19 | 164.587° | 0.1492 | 2002 | เชปเพิร์ดและคณะ | คาร์มี | |
55 | XXVI | ไอซอโนอี | Isonoe | 4 | 0.007 5 | 23 800 647 | −750.13 | 165.127° | 0.1775 | 2001 | เชปเพิร์ดและคณะ | คาร์มี | |
56 | — | S/2003 J 9 | 1 | 0.000 15 | 23 857 808 | −752.84 | 164.980° | 0.2761 | 2003 | เชปเพิร์ดและคณะ | คาร์มี | ||
57 | — | S/2003 J 5 | 4 | 0.009 0 | 23 973 926 | −758.34 | 165.549° | 0.3070 | 2003 | เชปเพิร์ดและคณะ | คาร์มี | ||
58 | IX | ซิโนพี | Sinope | 38 | 7.5 | 24 057 865 | −762.33 | 153.778° | 0.2750 | 1914 | นิโคลสัน | พาซิเฟอี | |
59 | XXXVI | สปอนดี | Sponde | 2 | 0.001 5 | 24 252 627 | −771.60 | 154.372° | 0.4431 | 2002 | เชปเพิร์ดและคณะ | พาซิเฟอี | |
60 | XXVIII | ออทอโนอี | Autonoe | 4 | 0.009 0 | 24 264 445 | −772.17 | 151.058° | 0.3690 | 2002 | เชปเพิร์ดและคณะ | พาซิเฟอี | |
61 | XLIX | คอรี | Kore | 2 | 0.001 5 | 23 345 093 | −776.02 | 137.371° | 0.1951 | 2003 | เชปเพิร์ดและคณะ | พาซิเฟอี | |
62 | XIX | เมกาไคลตี | Megaclite | 5 | 0.021 | 24 687 239 | −792.44 | 150.398° | 0.3077 | 2001 | เชปเพิร์ดและคณะ | พาซิเฟอี | |
63 | — | S/2003 J 2 | 2 | 0.001 5 | 30 290 846 | −1 077.02 | 153.521° | 0.1882 | 2003 | เชปเพิร์ดและคณะ | ? |

รูปแสดงตำแหน่งวงโคจรของดวงจันทร์กาลิเลียน ในสุดคือ ไอโอ ถัดออกมาคือยูโรปา แกนิมีด และ คาลิสโต แต่ชั้นในสุดยังมีดวงจันทร์ขนาดเล็กโคจรอยู่รอบในแต่เราไม่สามารถมองเห็นได้จากโลกถูกค้นพบโดยยานอวกาศวอยเอเจอร์ นอกจากนี้ยังมีดาวบริวารรอบนอกอีกหลายดวงเช่นกัน แต่มีขนาดเล็ก
และโคจรอยู่คนละระนาบกับวงโคจรของดาวพฤหัส อีกซ้ำบางดวงยังหมุนกลับทิศทางกับดาวบริวารดวงอื่นๆด้วย

เนื่องจากคาบการโคจรรอบดาวพฤหัสของดาวบริวารทั้ง 4 นั้นค่อนข้างแน่นอน เมื่อเราจับมาพร๊อตกราฟเส้นทางโคจรของแต่ละดวงตลอด 1 เดือน จะมีลักษณะตามรูปข้างบนซึ่งเป็นกราฟวงโคจรตลอดเดือนมกราคมนี้ เส้นและจุดสีแดงแทนดวงจันทร์ไอโอ สีส้มแทนยูโรปา สีเขียวแทนแกนิมีด และสีน้ำเงินแทนคาลลิสโต เส้นหนาตรงกลางแสดงตำแหน่งของดาวพฤหัส (สีขาว)
ตำแหน่งแนวดิ่งที่ตรงกับตัวเลขจะแทนเวลา 0 นาฬิกาของวันที่นั้นๆตามในเวลาประเทศไทย ตัวอย่างเช่น วันที่ 2 มกราคม เวลา 0 นาฬิกา จะเห็นเราจะเห็นไอโอและแกนิมีดอยู่ใกล้กันด้านบนของกราฟ (ทิศตะวันออก) ส่วนคาลลิสโตและยูโรปาจะอยู่ใกล้กันด้านล่างของกราฟ (ทิศตะวันตก) เมื่อเวลาผ่านมาจนถึงครึ่งทาง (ตอนเที่ยง) เส้นกราฟของไอโอ ยูโรปา และแกนิมีด จะตัดกันที่ดาวพฤหัสพอดี หมายความว่าถ้าตอนเที่ยงเรามีโอกาสได้เห็นดาวพฤหัสเราจะไม่เห็นดวงจันทร์ 3 ดวงนี้ แต่จะเห็นคาลลิโตทางทิศตะวันตกเพียงดวงเดียว
ตำแหน่งแนวดิ่งที่ตรงกับตัวเลขจะแทนเวลา 0 นาฬิกาของวันที่นั้นๆตามในเวลาประเทศไทย ตัวอย่างเช่น วันที่ 2 มกราคม เวลา 0 นาฬิกา จะเห็นเราจะเห็นไอโอและแกนิมีดอยู่ใกล้กันด้านบนของกราฟ (ทิศตะวันออก) ส่วนคาลลิสโตและยูโรปาจะอยู่ใกล้กันด้านล่างของกราฟ (ทิศตะวันตก) เมื่อเวลาผ่านมาจนถึงครึ่งทาง (ตอนเที่ยง) เส้นกราฟของไอโอ ยูโรปา และแกนิมีด จะตัดกันที่ดาวพฤหัสพอดี หมายความว่าถ้าตอนเที่ยงเรามีโอกาสได้เห็นดาวพฤหัสเราจะไม่เห็นดวงจันทร์ 3 ดวงนี้ แต่จะเห็นคาลลิโตทางทิศตะวันตกเพียงดวงเดียว
ถ้าเราพิจารณาเส้นกราฟเราจะเห็นว่า วงโคจรของดวงจันทร์ทั้ง 4 จะมีบางช่วงที่ซิงโครไนส์กัน เช่น ทุกๆ 2 รอบของไอโอจะเท่ากับยูโรปา 1 รอบ (ช่วงประมาณวันที่ 6 ถึงวันที่ 10) และทุกๆ 2 รอบของยูโรปาจะเท่ากับ 1 รอบของแกนิมีด หรือ 4 รอบของไอโอ (ช่วงประมาณวันที่ 6 ถึงวันที่ 13) ส่วนคาลลิสโตจะแตกต่างเค้าเพื่อนไม่ซิงโครไนส์กับใคร เราจึงสามารถนำเส้นกราฟของไอโอ ยูโรปา และแกนิมีดมาต่อกันได้อย่างไม่รู้จบไปเรื่อยๆ ยกเว้นคาลลิสโต
สิ่งที่น่าสนใจของดวงจันทร์กาลิเลียนไม่ได้อยู่แค่เป็นดวงจันทร์ใหญ่สุดของดาวพฤหัส หรือ เป็นดวงจันทร์ที่เห็นได้จากโลกเท่านั้น แต่ด้วยคาบการโคจรของดวงจันทร์ทั้ง 4 รอบดาวพฤหัสนั้นใช้เวลาน้อย ทำให้เราสามารถเห็นการเปลี่ยนตำแหน่งของดวงจันทร์ได้จากโลก ในชั่วเวลาอันสั้น ไอโอดวงจันทร์วงในสุด มีคาบการเปลี่ยนแปลง 1 รอบกินเวลาเพียง 42 ชั่วโมงครึ่ง นั่นหมายความว่า เราสามารถเห็นการเปลี่ยนตำแหน่งของไอโอได้ทุกๆ 1 ชั่วโมง

ภาพจำลองจากโปรแกรม Strrynight แสดงให้เห็นการเปลี่ยนตำแหน่งของดวงจันทร์ทั้ง 4 ดวง เมื่อคืนวันที่ 19 มกราคม 2546 เวลา 02.00 น. (ภาพบนสุด) ซึ่งทั้ง 3 ภาพเวลาต่างกัน 1 ชั่วโมง จะเห็นว่า ภาพที่ 2 เมื่อเวลา 03.00 น. ดวงจันทร์ ไอโอจะค่อยๆเคลื่อนหายไปด้านหลังดาวพฤหัส ขณะที่ ยูโรปากับคาลลิสโต จะค่อยเคลื่อนเข้ามาใกล้กันทุกที ภาพที่ 3(III) เมื่อเวลา 04.00 น. เราจะเห็นดวงจันทร์เพียง 2 ดวงเท่านั้น เพราะยูโรปาจะค่อยๆเคลื่อนหายไปด้านหลังดวงจันทร์คาลลิสโต เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่าการบังกัน (Occultation |
ให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า การบังกัน (Occultation) กับ อุปราคา (Eclipse) ของดาวบริวารทั้ง 4 ซึ่งเราสามารถมองเห็นได้จากโลก ปีคศ.2003 ก็เป็น 1 ในรอบ 12 ปีที่เราจะได้เห็น ช่วงระหว่างเดือนธันวาคม 2002 ถึงเดือนมีนาคม 2003 นับว่าเป็นช่วงที่เหมาะที่สุด ซึ่งเราจะเห็นว่าดาวบริวารทั้ง 4 ดวงนั้นจะเรียงตัวกันเป็นแนวตรงใกล้เคียงกับแนวเส้นศูนย์สูตรของดาวพฤหัสมากที่สุด และต้องนับจากนี้ไปอีก 6 ปีเราถึงเห็นปรากฏการณ์แบบนี้อีก ปรากฏการณ์ทั้ง 2 แบบนี้ ก็คล้ายๆกับ จันทรุปราคา หรือ สุริยุปราคา ที่เราเห็นบนโลกนั่นเอง เกิดขึ้นจากระนาบการโคจรของ โลก ดวงอาทิตย์ และ ดวงจันทร์ มาอยู่ในระนาบเดียวกัน

การบังกัน (Occultation) เกิดขึ้นจากดาวบริวาร 2 ดวงเคลื่อนมาใกล้กัน จนตำแหน่งที่เรามองเห็นจากโลกเกิดการบังกันขึ้น ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 แบบด้วยกันคือ
-บังกันบางส่วน เกิดจากความแตกต่างของระนาบระหว่างดาวบริวาร 2 ดวง- แบบวงแหวน เกิดจากดาวบริวารดวงเล็กกว่าบังดาวบริวารดวงใหญ่ เช่น ไอโอบังแกนิมีด เป็นต้น
- แบบเต็มดวง เกิดจากดาวบริวารดวงใหญ่บังดวงเล็ก เช่น แกนิมีดบังไอโอ เป็นต้น
ผลของการบังกันนั้น สำหรับกล้องขนาดใหญ่ที่มีความสามารถในการแยกความละเอียดได้สูง จะเห็นความสว่างของดาวบริวารเปลี่ยนแปลงระหว่างบังกัน ในขณะที่กล้องขนาดเล็กซึ่งแยกความแตกต่างไม่ออกจะมองเห็นเหมือนดาวบริวารสองดวงเคลื่อนที่มารวมกันเป็นดวงเดียว
อุปราคา (Eclipse) เกิดขึ้นจากเงาของดาวบริวารดวงหนึ่งเคลื่อนไปทับบนดาวบริวารอีกดวง คล้ายๆกับปรากฏการณ์จันทรุปราคาที่เราเห็นกันบนโลก แบ่งออกเป็น 3 แบบเช่นกันคือ
- อุปราคาบางส่วน
- อุปราคาวงแหวน
-อุปราคาเต็มดวง
ผลของการเกิดอุปราคานั้นเราจะเห็นความสว่างของดาวบริวารนั้นลดลง หรือหายไประหว่างที่โคจรอยู่รอบดาวพฤหัส
- อุปราคาบางส่วน
- อุปราคาวงแหวน
-อุปราคาเต็มดวง
ผลของการเกิดอุปราคานั้นเราจะเห็นความสว่างของดาวบริวารนั้นลดลง หรือหายไประหว่างที่โคจรอยู่รอบดาวพฤหัส



ภาพถ่ายจริงจากวารสาร Astronomy ฉบับเดือนธันวาคม 2002 ซึ่งถ่ายโดย jim curry ซึ่งถ่ายระยะเวลาห่างกัน 1 ชั่วโมง
- รูปบน แสดงตำแหน่งของ แกนิมีด ยูโรปา ไอโอ และดาวพฤหัส เรียงจากซ้ายมาขวา
- รูปกลาง 1 ชั่วโมงผ่านมา ยูโรปามีความสว่างลดลงจนมองไม่เห็น เพราะถูกเงาของไอโอบัง
- รูปล่าง 1 ชั่วโมงผ่านมา ยูโรปาสว่างขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อพ้นจากเงาของไอโอ
- รูปกลาง 1 ชั่วโมงผ่านมา ยูโรปามีความสว่างลดลงจนมองไม่เห็น เพราะถูกเงาของไอโอบัง
- รูปล่าง 1 ชั่วโมงผ่านมา ยูโรปาสว่างขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อพ้นจากเงาของไอโอ
ปรากฏการณ์ทั้ง 2 แบบเป็นการวัดประสิทธิภาพของอุปกรณ์ได้ทางหนึ่งว่า มีความคมชัดในการแยกความแตกต่างของภาพได้มากน้อยเพียงใด ตามปกติแล้วการสังเกตปรากฏกาณ์ทั้ง 2 แบบนี้ จะต้องใช้กำลังขยายของกล้องสูงมากๆ ทำให้กล้องที่มีขนาดใหญ่ได้เปรียบ โดยกำหนดกำลังขยายขั้นต่ำอยู่ที่ 30 คูณด้วยขนาดหน้ากล้องเป็นนิ้ว เช่น กล้องขนาด 6 นิ้วจะต้องใช้กำลังขยาย 180 เท่า ขณะที่กล้องขนาด 16 นิ้วจะได้กำลังขยายเป็น 480 เท่า
การสำรวจดาวพฤหัส
ดาวพฤหัสเคยถูกสำรวจโดยยานไพโอเนียร์ 10 เมื่อปี 1972 เฉียดดาวพฤหัสห่างราว 132,000 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 1973 กับ ยานวอยเอเจอร์ 2 เมื่อปี คศ.1977 โดยใช้แรงเหวี่ยงของดาวพฤหัสส่งไปสำรวจดาวเสาร์ และยูเรนัสกับดาวเนปจูน ปัจจุบันนี้ยานที่ถูกส่งไปสำรวจดาวพฤหัสโดยตรงคือยานกาลิเลโอ
